หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน วัดหน้าต่างนอก

ประวัติ หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา

อ่าน : 16,809 ครั้ง

หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน วัดหน้าต่างนอก

ยอดพระเกจิ “เทพเจ้าแห่งความเมตตา” ของเมืองกรุงเก่า


ชีวิตในวัยเยาว์หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน

หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน หรือ พระครูสมบูรณ์จริยธรรม เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก .หน้าไม้ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา “แม้น คานอ่อน” เป็นชื่อจริงของหลวงพ่อแม้น ท่านเป็นชาวอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เกิด เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2481 เป็นบุตรของ นายทองหล่อ คานอ่อนและนางกุหลาบ ไตรเวท มีพี่น้องร่วมกันทั้งหมด 11 คน เติบโตมาในครอบครัวอาชีพทำนา ทำอิฐขาย ฐานะครอบครัวค่อนข้างยากจน จึงได้เรียนจบแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

เมื่อเยาว์วัย มีความชื่นชอบในการปฏิบัติธรรมมาก และไม่เคยสนใจเพศตรงข้ามเลย ทำแต่งาน เวลาว่างก็ไปปฏิบัติธรรม อีกทั้งยังใฝ่ในการเรียนรู้เรื่องเวทมนต์คาถา เริ่มศึกษาจากคนแก่คนเฒ่าคนในย่านใกล้บ้าน พร้อมเสาะหาครูบาอาจารย์จนได้เป็นศิษย์เอกทายาทพุทธาคม หลวงปู่แดง วัดบางเตยนอก หลวงปู่ว่านวัดเตยใน ท่านเป็นพระ ต่อมาเดินทางเข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อศึกษาวิชากับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก รับเป็นศิษย์ท่านสอนแนวทางปฏิบัติกัมมัฏฐาน เป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งหลวงพ่อจงมรณภาพ ในปี พ.ศ.2508 และได้เป็นศิษย์หลวงพ่อไวทย์ วัดบรมวงศ์ หลวงพ่อหอม วัดบางเตยกลาง หลวงพ่อเมี้ยน วัดธิ์กบเจา และพระอาจารย์รวย วัดกลาง คลองสาม

ศิษย์เอกทายาทพุทธาคม หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

ย้อนกลับไปในยุคสมัยสงครามอินโดจีน หนึ่งในยอดกระเกจิสมัยสงครามอินโดจีนคือ เกจิ "จาด-จง-คง-อี๋" ผู้สร้างวัตถุมงคลอันลือชื่อแก่ทหารเหล่าผู้กล้า จนได้รับสมญานามว่า “ทหารผีอินโดจีน” มีลูกศิษย์ลูกหาเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก แถมมีความโดดเด่นในวัตถุมงคลของท่านทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เล่าลือกันปากต่อปากเรื่อยมาจนเป็นที่ต้องการอย่างมากจวบจนถึงทุกวันนี้
 

 

หลวงพ่อแม้นเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

เมื่ออายุได้ 27 ปี หลวงพ่อแม้นได้ตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเจ้าอาวาสวัดใหญ่ชัยมงคล หลวงพ่อพระครูภาวนารังสี เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ พระอาจารย์สุนทร เป็นพระกรรม วาจาจารย์และได้ให้ฉายาแก่ท่านว่า “อาจารสัมปันโน”

หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดกลางคลองสาม จังหวัดปทุมธานีได้ 1 พรรษา หลังจากนั้นได้ย้ายกลับไปวัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแม้นเริ่มศึกษาธรรมอย่างจริงจัง โดยเริ่มเรียนพระปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมตรี ในปี พ.ศ.2510 ต่อมาปี พ.ศ.2511 ได้ศึกษาเล่าเรียนบาลีที่วัดพระศรีมหาธาตุ ไปจนถึงกาลออกพรรษาครูที่สอนบาลีถึงแก่กรรม จึงได้หยุดเรียน ทำให้หลวงพ่อแม้นกลับมาเรียนนักธรรมโทในปีเดียวกัน แต่สอบไม่ผ่าน และสอบใหม่อีกครั้ง จนได้นักธรรมโทและนักธรรมเอกในปี พ.ศ. 2513 ในปีเดียวกัน และได้เรียนพระปาติโมกข์และท่องพระปาติโมกข์จนจบ ช่วงปี พ.ศ.2515

ในช่วงปี พ.ศ.2515 ช่วงนั้นตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกยังขาดเจ้าอาวาสรูปใหม่ที่จะปกครองวัด หลังจากหลวงพ่อจงได้ละสังขารไป ทางคณะกรรมการวัดหน้าต่างนอก จึงมีมติให้อาราธนาหลวงพ่อแม้น แห่งวัดกลางคลองสาม มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสที่วัดหน้าต่างนอกสืบต่อ

เมื่อหลวงพ่อแม้นได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก ท่านได้นมัสการบารมีธรรมหลวงพ่อจงพระเถราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ และกล่าวว่ามีความรู้สึกปลื้มปิติเป็นอย่างมากที่ได้รับใช้ใต้บารมีของหลวงพ่อจงอีกครั้ง และต่อมาท่านได้ศึกษาวิทยาคม ตามตำราที่หลวงพ่อจงได้ทิ้งไว้อย่างแตกฉาน เป็นพระเถระที่เดินตามรอยปฎิปทาบารมีของพลวงพ่อจงอย่างสม่ำเสมอจนถึงปัจจุบัน


วัตถุมงคลและเครื่องรางหลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน อธิษฐานจิตปลุกเสกโด่งดังไปไกลทั่วประเทศ


ล่วงสมัยกาลปัจจุบัน ในช่วงรอบทศวรรษที่ผ่านมา "หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน" หรือ "พระครูสมบูรณ์จริยธรรม" ถือเป็นพระเกจิชื่อดังอีกรูปหนึ่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตรปฏิบัติดี เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม เป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ลูกศิษย์เลื่อมใสในเรื่องวัตถุมงคล เครื่องรางของพลัง ด้วยกิตติศัพท์ของหลวงพ่อแม้น ในฐานะศิษย์เอกพระเกจิชื่อดังแห่งเมืองอยุธยาหลายรูป ยิ่งทำให้การปลุกเสกวัตถุมงคลของท่านเป็นที่ต้องการของบรรดาลูกศิษย์เป็นอย่างมาก

เทพเจ้าแห่งความเมตตา

หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน ได้รับฉายาว่าเป็น เทพเจ้าแห่งความเมตตา และท่านมีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีความเรียบร้อย พูดจาไพเราะ ใจเย็น เปี่ยมไปด้วยความเมตตา ทำให้ความดีเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ ในฐานะพระเกจิอาจารย์ที่มีเมตตาและมีวิทยาอาคมแก่กล้า ในปัจจุบันนี้ หลวงพ่อแม้น เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ งานพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่นดังแทบทุกรุ่นไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กรุ่นใหญ่ ต้องมีชื่อของท่านเข้าร่วมพิธีอธิษฐานจิตด้วยแทบทุกงาน ด้วยความเชื่อมั่นในบารมีของหลวงพ่อแม้นจะช่วยปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ค้าขายรุ่ง

ขณะเดียวกัน วัตถุมงคลที่หลวงพ่อแม้น จัดสร้างทำตามตำราหลวงพ่อจงอย่างเคร่ง ครัด อาทิ ตะกรุดเสือมหาอำนาจ เสื้อยันต์ เบี้ยแก้ และอื่นๆ ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากบรรดาคณะศิษย์
ตะกรุดโทนพุทธาคมมหามงคล (มหารูด) และ ลูกอมพยัคฆราชครองเมือง

 

 

 

ตะกรุดมงคลสัมฤทธิ์ และ เสือมหามงคล หรือ เสือเดือน 9

หลวงพ่อแม้นปลุกเสกไว้ได้อย่างเข้มขลังเสียงเสือดังลั่นในกุฎิ เสือรุ่นนี้พิเศษสุดผสมตะกรุดมหาอำนาจรุ่นเก่าของหลวงพ่อจง ที่ท่านเคยปลุกเสกเอาไว้ลงเป็นชนวน และหลวงพ่อแม้นได้จารแผ่นยันต์ 108 ลงไปผสม เป็นชนวนด้วย เช่น ยันต์หอกคด มหาละลาย งวงงง หลง ไหล ปืนแตก อ่อนใจรัก ฯลฯ ซึ่งเป็นตำราเก่าของหลวงพ่อจง ได้ลงไว้ในเสื้อทหารสมัยสงครามอินโดจีน ทำให้รุ่นนี้เป็นรุ่น เครื่องรางของพลังที่รู้จักกันดีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เชื่อในด้านความมั่นคง ก้าวหน้า ก้าวมั่ง ก้าวมี ก้าวไปเป็นเศรษฐี ก้าวพ้นอุปสรรค ของเสือเดือน 9

 

 

ตะกรุดมงคลสัมฤทธิ์

พุทธคุณล้นเหลือ พกติดตัวเป็นที่รักที่เอ็นดู เจริญในหน้าที่การงาน ใครเห็นใครรักใคร่เมตตา หลวงพ่อแม้นปลุกเสกเพื่อใช้ทางด้านความเมตตาโดยตรง ตะกรุดเป็นตะกรุดเงิน ขนาด 1 นิ้ว สามารถใช้ในการค้าขายเพื่อเรียกความสนใจจากลูกค้า เป็นที่รักที่ใคร่

ลูกอมพยัคฆราชครองเมือง

พุทธคุณโดดเด่นทางด้านเมตตา มหาอำนาจ คงกระพัน แค้วคลาดจากอันตราย กันสัตว์ร้ายทางบกและทางน้ำ บูชาไว้กับตัวคิดพาลทำร้ายไม่ได้ กันฟืนไฟต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

ท่องเที่ยวแนะนำ