วัดสิงห์ วัดคู่บ้านคู่เมืองปทุมธานี

วัดสิงห์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองชาวสามโคก จ.ปทุมธานี ตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นราชธานี จัดเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองชาวสามโคก โบราณว่า สมัยก่อนนั้น มีชาวมอญได้อพยพมาอาศัยอยู่ที่นี่ และขยายครอบครัว จนเป็นชุมชนขึ้นมา ทำให้ศิลปะวัดวาอารามผสมผสานความเป็นมอญเข้า

อ่าน : 12,062 ครั้ง

วัดสิงห์ วัดคู่บ้านคู่เมืองปทุมธานี

วัดสิงห์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองชาวสามโคก จ.ปทุมธานี ตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นราชธานี จัดเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองชาวสามโคก โบราณว่า สมัยก่อนนั้น มีชาวมอญได้อพยพมาอาศัยอยู่ที่นี่ และขยายครอบครัว จนเป็นชุมชนขึ้นมา ทำให้ศิลปะวัดวาอารามผสมผสานความเป็นมอญเข้ามาด้วย

 

 

 

 

 

โดยเฉพาะโบสถ์ วิหารเก่า ภายในวิหารโถง (ศาลาดิน) เป็นอาคารโถง เปิดโล่ง สี่เหลี่ยมภายในจะมีอาคารทรงไทยจั่วลูกฟักหน้าพรม และมีมาลัยโดยรอบ มุงด้วยกระเบื้องเชิงชาย บันแถลงรูปสามเหลี่ยมปลายเรียวโค้ง รูปเทพพนมกับรูปดอกบัวอ่อนช้อนอย่างสวยงาม

 

 

 

 

 

 

 

 

ศาลาดินจะมีเสาระเบียงเรียบ พื้นปูด้วยกระเบื้องดินเผาขัดมัน เสาของอาคารเป็นเสาม้กลมสีแดง ด้านในมีพระพุทธรูปหลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในวิหารโถง ก่อด้วยอิฐ เป็นศิลปะสมัยอยุธยา มีอายุกว่า 320 ปี ด้านหลังมีพระปางไสยาสน์ประดิษฐานอยู่ ทางด้านข้างๆ จะมีกุฎิหลังเก่า ซึ่งเป็นอาคารเก่าสมัยอยุธยา ศิลปะตะวันตก ได้ถล่มลงเมื่อปี พ.ศ 2554 และได้รับการบูรณะให้กลับมาสภาพสวยงามสมบูรณ์

 

 

นอกจากนี้อุโบสถเก่าของวัดสิงห์ ที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง ถูกบรูณะเป็นอาคารใช้ในการทำสังฆกรรม ประกอบด้วยกำแพงแก้วล้อมรอบ จุดที่น่าสนใจคือ “โกศพพญากราย” ก่อด้วยอิฐฉาบปูนรูปแบบโกศโถทรงกระบอกกลมปากผาย ได้บรรจุอัฐิพระเถระมอญ ซึ่งได้อพยพเข้ามาจากเมืองเมาะตะมะ เมื่อราว 200 ปี สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย สมัยรัชกาลที่ 2  โดยพญากราย ได้อพยพมาจากเมืองเมาะตะมะ ครั้งนั้นพม่าได้กวาดล้างอย่างหนัก ทำให้มอญได้ทะลักเข้ามาในประเทศไทยถึง 4 หมื่นคน และเมื่อถึงเมืองปทุมธานี ชาวบ้านจึงได้สร้างวัดขึ้น ในชุมชนให้อยู่และจำพรรษา

 

 

 

โดยจะเห็นได้จากโกศบรรจุอัฐิพระพญากราย ที่ประดับลวดลายอย่างประณีตงดงาม แสดงถึงความเลื่อมใสศรัทธา ของชาวบ้าน มูลแห่งความศรัทธานี้ เนื่องจากว่า ความเคร่งครัดในวัตรปฎิบัติของพระพญากราย เมื่อครั้งอพยพหนีภัยสงครามจากพม่า ท่านได้พาครอบคัว คือบิดาและมารดาหนีมาด้วย จนถึงแผ่นดินไทย ทำให้พระสงฆ์ทั้งหลายต่างตั้งขอรังเกียจ ไม่ร่วมสังฆกรรมด้วย แม้พระพญากราย จะยืนยันว่าศีลของตนนั้นบริสุทธิ์ โดยขณะที่นอนในป่าได้นำพร้าเล่มหนึ่งคั่นกลางตนเองกับน้องสาวไว้ แต่ไม่มีใครเชื่อ

 

 

 

จนท่านได้กระทำจิตอธิษฐานขึ้นท่ามกลางชุมชน หากตนบริสุทธิ์จริงๆ เมื่อขว้างพร้าลงน้ำพร้านั้นจะลอยขึ้นเหนือน้ำ หากตนไม่บริสุทธิ์ขอให้พร้าที่ขว้างลงน้ำนั้นจมลง ปรากฏว่า พร้าได้ลอยเหนือน้ำ จนทำให้ประชาชนและพระสงฆ์ต่างยอมรับ

 

 

เมื่อรัชกาลที่2 ทรงทราบ จึงมีความเลื่อมใสศรัทธา ถวายเครื่องอัฐบริขารเป็นราชสักการะ ตั้งพระพญากรายขึ้นเป็นที่ "พระไตยสรณธัช" เมื่อสิ้นจึงมอบให้คณะสงฆ์ของมอญรับสืบทอดจนสร้างโกศพพญากรายจวบจนปัจจุบัน

 

 

ส่วนอีกด้านหลังจะเป็น “วิหารน้อย” ที่ก่อด้วยอิฐเป็นอาคารไทย มุงด้วยกระเบื้องดินเผากาบู ด้านหน้าจะมีชายคารูปปีกนกยื่นออกมาจากตัวอาคาร ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ด้านหน้าพระประธานมีพระอัครสาวกยืนซ้ายขวา

 

 

 

 

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเดินทางมาได้ทางเรือ และทางรถยนต์ โดยถนนสายปทุมธานี-สามโคก เพียง 3 กม. และมีทางแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตรก็ถึงวัดสิงห์แล้วค่ะ

 

 

ท่องเที่ยวแนะนำ

คำว่า

พระ เกจิ คือ